พัฒนาการของลูกน้อยและคุณแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 6

พัฒนาการของลูกน้อยและคุณแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 6

พัฒนาการของลูกน้อยและคุณแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 6

ในเดือนที่6นี้เป็นเดือนที่ลูกเตรียมตัวที่จะออกมาดูโลกแล้วล่ะค่ะ  เพราะจากที่เค้าเคยนอนแบบตั้งหัวขึ้นในท้องแม่  เค้าจะกลับหัวลงโดยส่วนหัวของลูกจะเกยทับปากมดลูก  คุณแม่จึงจะรู้สึกว่าเหมือนลูกถ่วงตัวลงมาด้านล่างสะดือ  ส่วนหนึ่งคือน้ำหนักของลูกเพิ่มมากขึ้นด้วย  และอีกกรณีหนึ่งก็คือเค้าเปลี่ยนเอาส่วนหัวลงมาจ่อที่ปากมดลูกค่ะ  จากพุงที่เคยกลมๆเหมือนมีลุกโป่งอยู่ด้านใน  ในเดือนนี้จะคล้อยต่ำลงเล็กน้อยจากสาเหตุที่กล่าวมานั่นล่ะค่ะ

 

พัฒนาการของลูกน้อยในครรภ์ เดือนที่ 6

ในเดือนนี้รูปร่างของลูกจะเหมือนเด็กตัวเล็กๆทุกประการแล้วยกเว้นเรื่องของรูปลักษณ์ค่ะ  เพราะว่าเค้ายังไม่มีไขมนในร่างกายที่จะทำให้ดูจ้ำม่ำน่ารัก  มีแต่กล้ามเนื้อเท่านั้นลูกจึงยังดูจะตัวเหี่ยวๆเล็กๆอยู่  แต่ไม่ต้องกังวลค่ะเพราะหลังจากเดือนนี้ไปเค้าก็จะอ้วนท้วนสมบูรณ์แข็งแรงขึ้นมาอย่างแน่นอน   เพราะร่างกายจะเริ่มสะสมไขมันแล้วล่ะค่ะ   ฉะนั้นต้องใจเย็นๆกันไว้นะคะคุณพ่อคุณแม่  นอกจากนี้ในช่วงเดือนนี้ลูกจะมีการสร้างต่อมเหงื่อที่ผิวหนัง  รวมถึงกล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย  เค้าจะมีขนาดของร่างกายที่ใหญ่ขึ้นแต่ต้องขดตัวอยู่ในพุงของคุณแม่จึงอาจจะมีอาการที่เรียกว่า “ขยุกขยิกในท้อง”  เพื่อหาท่าที่เหมาะๆที่จะนอนให้สบายในพุงให้มากที่สุดนั่นหละค่ะ  โดยคุณแม่จะรู้สึกถึงการขยับยุกๆยิกๆสลับกับความเงียบสงบลงในบางช่วง  แล้วถ้าเกิดว่าคุณแม่รู้สึกถึงอาการกระตุกเป็นจังหวะๆในท้องก็ไม่ต้องตกใจไปนะคะ  เพราะลุกเค้าแค่  “สะอึก”ค่ะ  เมื่อมาถึงช่วงนี้แล้วลูกจะมีความยาวประมาณ  33 ซม.  และมีน้ำหนักราวๆ 570 กรัมค่ะ  ตัวเริ่มใหญ่ขึ้นมาแล้วจากช่วงเดือนก่อนอย่างรวดเร็วและจะเติบโตเพิ่มขึ้นอีกในช่วงเดือนถัดไป  ทางด้านดวงตาของลูกนั้นจะยังไม่ลืมจนกว่าจะถึงสัปดาห์ที่ 28  แต่หูกลับฟังเสียงได้ดีคุณแม่จึงควรพูดคุยกับลูกหรือร้องเพลงหรือเปิดเพลงให้ลูกฟัง  ซึ่งจะสามารถเห็นปฏิกิริยาของลูกกับเสียงได้จากการสะดุ้งของลูกค่ะ  รวมถึงลูกน้อยจะมีการตื่นอย่างสดชื่นและดิ้นไปมาในช่วงที่คุณแม่เองจะพักผ่อนจึงอาจจะรบกวนเวลาเข้านอนของคุณแม่ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติค่ะ

 

พัฒนาการของคุณแม่ตั้งครรภ์ เดือนที่ 6

ตอนนี้คุณแม่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นราวๆสัปดาห์ละครึ่งกิโลกรัม  โดยหากคุณแม่ท่านใดมีน้ำหนักขึ้นน้อยในช่วงก่อนหน้ารับรองได้ว่าในช่วงนี้น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นแน่นอนค่ะ  แต่ถ้าหากเพิ่มมากเกินไปควรปรึกษาแพทย์นะคะเพราะจะการที่น้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างมากมายในเวลาอันสั้นจะไม่เป็นผลดีนักกับการตั้งครรภ์ค่ะ  แพทย์จะต้องตรวจดูระดับโซเดียมในเลือด  น้ำตาลในเลือด  ความดันโลหิต  และอื่นๆเพื่อตรวจหาภาวะครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)  ซึ่งมรโอกาสสูงมากที่จะเกิดขึ้นในช่วงนี้ของการตั้งครรภ์ค่ะ  และถ้าหากพบภาวะนี้และคุณแม่มีอาการแย่ลงเป็นอย่างมาก  แพทย์อาจตัดสินใจให้ยุติการตั้งครรภ์นี้ค่ะ  หรืออาจแนะนำให้คลอดก่อนกำหนด  ทั้งนี้เพราะคุณแม่เองอาจจะได้รับอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตถ้าหากเลือกที่จะตั้งครรภ์ต่อไป   ในขณะเดียวกันหากเด็กแท้งหรือคลอดในช่วงเดือนนี้โอกาสในการรอดชีวิตก็จะมีไม่มากนักเนื่องจากการทำงานของปอดยังไม่สมบูรณ์ดีแต่ถ้าหากได้รับการดูแลเป็นอย่างดีจากกุมารแพทย์เด็กอาจสามารถรอดชีวิตและเติบโตขึ้นได้ตามปกติค่ะ  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในหลายๆด้านด้วยนะคะ   นอกจากนี้คุณแม่ท่านใดที่ยังไม่ใส่ชุดคลุมท้องควรใส่ได้แล้วนะคะ  เพราะท้องจะโตขึ้นอย่างรวดเร็วเพื่อที่จะได้เดินเหินได้อย่างสะดวกสบายไม่อึดอัดค่ะ  และที่ใบหน้ารวมถึงร่างกายของคุณแม่จะดูอวบอูมขึ้นด้วยเนื่องจากมีการสะสมของน้ำในปริมาณที่มากขึ้นใต้ผิวหนัง  รวมถึงลานเต้านมก็จะอวบอูมขึ้นด้วยเช่นกัน

 

การดูแลคุณแม่ในการตั้งครรภ์เดือนที่ 6

คุณแม่อาจมีอาการปวดเมื่อยมากขึ้นเป็นพิเศษจากการรับน้ำหนักของครรภ์จึงควรยกขาขึ้นสูงบ่อยๆเท่าที่มีโอกาส   และออกกำลังกายเพื่อยืดเส้นยืดสายให้เป็นประจำด้วย  ส่วนในเรื่องของอาหารการกินนั้นยังคงเหมือนทุกๆเดือนที่ผ่านมาเพียงแต่อาจจะต้องเพิ่มปริมาณที่มากขึ้น  เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นของคุณแม่และทารกในครรภ์    โดยเฉพาะผักและผลไม้รวมถึงการดื่มน้ำให้มากขึ้นด้วยเพราะด้วยครรภ์ที่มีขนาดใหญ่จะทำให้คุณแม่เดินหรืออกกำลังกายได้ลดน้อยลง  มีการเคลื่อนไหวร่างกายที่ช้าลงเป็นเหตุให้เกิดอาการท้องผูกได้การรับประทานผักและผลไม้ที่มีกากใยรวมทั้งการดื่มน้ำจะมีส่วนช่วยให้ลำไส้เกิดการขยับตัว  และน้ำจะทำให้กากใยในลำไส้นิ่มทำให้ขับถ่ายออกได้ง่าย

 

ข้อควรระวังของคุณแม่ในการตั้งครรภ์เดือนที่ 6

ข้อควรระวังของคุณแม่ในเดือนที่6นี้ยังคงเป็นเหมือนเช่นเดือนก่อนค่ะ  แต่ที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือการระมัดระวังในการเดิน เพราะอาจพลาดพลัดตกหกล้มหรือลื่นล้มได้โดยง่ายกว่าปกติ  เนื่องจากคุณแม่เริ่มจะมีลักษณะที่เรียกว่า  “อุ้ยอ้าย”  เดินไปไหนมาไหนก็เริ่มจะเชื่องช้าไม่คล่องตัวเหมือนเคยเพราะมีครรภ์ที่ขนาดใหญ่ยิ่งขึ้น  คุณแม่จะรู้สึกว่าตัวหนักๆและไม่ค่อยอยากจะลุกเดินไปไหนซึ่งเป็นเรื่องธรรมดา  แต่ถึงอย่างนั้นก็ควรลุกขึ้นเพื่อออกกำลังกายบ้างเพื่อให้สบายเนื้อสบายตัวค่ะ