เดือนที่ 2 แล้วนะคะ…..ลูกน้อยสามารถยิ้มทักทายได้แล้ว……คุณพ่อคุณแม่เริ่มปรับตัวกับลูกน้อยได้หรือยังค่ะ
ในวัย 2 เดือนนี้ลูกน้อยเลี้ยงง่ายขึ้นกว่าเดือนแรก ๆ มากเลยใช่มั๊ยคะ ….เป็นเพราะลูกน้อยเริ่มปรับตัวกับโลกใบใหม่ได้พอสมควร เห็นได้จากที่ลูกสามารถกินนมเป็นเวลานานขึ้น นอนหลับได้นานยิ่งขึ้น เริ่มนอนในเวลากลางคืน และ เริ่มมีพัฒนาการด้านปฏิสัมพันธ์กับคนเลี้ยงดูโดยเฉพาะแม่
ในเดือนที่ 2 นี้ลูกเริ่มเรียนรู้วิธีสื่อสารกับคุณพ่อคุณแม่แล้วนะคะ ลุกชอบฟังเสียงของแม่มากที่สุดเลย เมื่อได้ยินเสียงคุณแม่เมื่อไรจะหันมาหาเสียงทันที แม้จะมองเห็นได้ชัดเพียงระยะ 7-8 นิ้วก็ตามแต่จะได้ยินเสียงและจำเสียงของคุณแม่ได้
ลูกน้อยวัย 2 เดือนนั้นมีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างไร…. และคุณพ่อคุณแม่ส่งเสริมพัฒนาลูกน้อยได้อย่างไร…..มาลองดูกันไปทีล่ะอย่างนะคะ
พัฒนาการด้านร่างกาย
ในเดือนที่ 2 นี้น้ำหนักตัวของลูกน้อยจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิม โดยทั่วไปแล้วน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์ของเด็กวัย 2 เดือน เด็กชายจะหนักประมาณ 4-6 กิโลกรัม ความสูงประมาณ 53-60 เซนติเมตรค่ะ ส่วนเด็กผู้หญิงจะหนักประมาณ 4.5 – 5 กิโลกรัม ส่วนสูงประมาณ 51-60 เซนติเมตร คุณพ่อคุณแม่ลองสังเกตลูกนะคะ เด็กน้อยจะเริ่มเรียนรู้ร่างกายของตนเองมากขึ้น เริ่มยืดตัวตรง ชอบถีบขายืดแขน พลิกตัวไปมาอย่างสนุกสนาน มีการสบตา มองตามหันหาเสียง ในช่วงนี้ลูกน้อยเริ่มอยากไขว่คว้าหาของ แต่ที่ชอบที่สุดคือการดูดนิ้วมือค่ะ คุณพ่อคุณแม่ให้ลูกดูดนิ้วได้นะคะ เพราะการดูดนิ้วมือทำให้ลูกผ่อนคลายและอารมณ์ดีขึ้น ลูกจะชอบเล่นน้ำลาย มีอาการสะดุ้งตกใจหลงเหลือให้เห็นอยู่บ้าง หากจับลูกนอนคว่ำ ลูกจะสามารถยกศีรษะขึ้นประมาณ 45 องศาจากเบาะ ยกค้างไว้อย่างนั้นสักครู่หนึ่ง เป็นการฝึกพัฒนาการความแข็งแรงของคอ แต่ห้ามทำแล้วปล่อยลูกทิ้งไว้ลำพังอย่างเด็ดขาด เพราะกล้ามเนื้อคอของเด็กน้อยยังไม่แข็งแรงเต็มที่ หากปล่อยลูกทิ้งไว้เมื่อลูกทานน้ำหนักศีรษะตนเองไม่ไหวใบหน้าและจมูกของลูกจะตกลงบนที่นอนและทำให้ลูกหายใจไม่ออกอาจทำให้ลูกเสียชีวิตได้ค่ะ
พัฒนาการด้านสติปัญญาและอารมณ์
ในวัย 2 เดือนนี้ด้านการมองของลูกน้อยเลนส์ตาจะปรับระยะห่างของวัตถุได้แล้ว แต่ตากับหูยังไม่สัมพันธ์กัน เด็กน้อยจะหันตามสิ่งของที่มีสีสดใสแทน เมื่อมีคนพูดด้วยลูกจะชะงักและทำหน้าตาว่าได้ยิน เด็กวัย 2 เดือนเริ่มเชื่อมโยงพฤติกรรมบางอย่างที่คุณพ่อคุณแม่ทำให้ เช่น แม่กับอาหาร รวมทั้งตีความหมายได้บ้างแล้ว เริ่มแสดงอารมณ์ดีใจ ตื่นเต้น ยิ้มแย้ม หงุดหงิด จะสงบอารมณ์ตัวเองด้วยการดูดนิ้ว
คุณพ่อคุณแม่ฃ่วยให้ลูกอารมณ์ดีได้ เปิดเพลงเบา ๆ หรือเล่น ยิ้ม พูดคุยกับลูก หลีกเลี่ยงเสียงดัง เท่านี้
คุณพ่อคุณแม่ก็ได้ช่วยการพัฒนาการด้านอารมณ์ของลูกได้แล้วค่ะ
ลูกวัยนี้ยังใช้การร้องไห้เป็นการสื่อสารหลักอยู่ค่ะ และจะพูดเป็นเสียงอ้อแอ้ ดูๆแล้วไม่เหมือนเสียงพูดสักเท่าไร
นัก ลูกจะสนใจฟังเสียงต่าง ๆ และจดจำเสียงเหล่านั้นไว้ หากคุณพ่อคุณแม่พูดคุยกับลูกบ่อย ๆ ลูกจะอ่านริมฝีปาก
ถือเป็นการฝึกหัดการพูดไปในตัวด้วย เสริมพัฒนาการด้านการเข้าใจภาษาของลูกได้ด้วยสบตา ยิ้ม และพูดคุยให้ลูกสนใจ เช่น ทำตาโต ขยับริมฝาก ยิ้มสดใส หัวเราะกับลูก โดยสามารถฝึกได้ในหลายๆ สถานการณ์ เช่น ขณะที่อุ้มลูก
ขณะให้นมลูก ขณะอาบนํ้า หรือในเวลาที่เล่นกับลูก ลูกน้อยนั้นจะสามารถตอบสนองความไม่พอใจใจออกมาในรูปแบบการปิดปาก สำลัก หน้าแดง ขบกราม แต่หากเป็นสิ่งใดที่ลูกพอใจชอบ ลูกจะให้ความสนใจและกระตือรือล้น ยิ้มอย่างสดใสให้เลยทีเดียว หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตดี ๆ จะรู้ได้ว่าลูกน้อยมีพื้นฐานนิสัยใจคออย่างไรได้
คุณพ่อคุณแม่ขยันพูดคุยกับลูกน้อย บางทีเด็กน้อยฟังเราพูดเพลิน ๆ ก็จะเคลิ้มหลับไปก็มี หรือจะเป็นการร้องเพลงกล่อมก็ใช้ได้ดี เป็นการส่งเสริมประสาทการรับรู้ให้ลูก ช่วยพัฒนาให้ลูกเกิดการเรียนรู้ บางทีอยากให้ลูกฉลาด
คุณพ่อคุณแม่ต้องเล่านิทานให้ลูกฟังหลาย ๆ ครั้ง ช่วยส่งเสริมพัฒนาการเด็กได้เป็นอย่างดีเยี่ยมเลยค่ะ
พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม
ในวัน 2 เดือนเป็นวัยที่คุณพ่อคุณแม่จะมีความสุขกับลูกมาก เพราะเมื่อคุณพ่อคุณแม่แตะตัวลูกหรือพูดคุยด้วย ลูกน้อยสามารถยิ้มหวานและส่งเสียงตอบได้ จ้องตาได้นานขึ้น คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกมีพัฒนาการดีขึ้นได้โดยการสัมผัสลูกเบา ๆ พร้อมพูดคุยกับลูกด้วยคำพูดสั้น ๆ พูดช้า ๆ ซ้ำ ๆ ด้วยน้ำเสียงดัง เบา สูง ต่ำ ให้น่าสนใจ นอกจากนั้นแล้วคุณพ่อคุณแม่ยังสามารถพาลูกออกไปข้างนอกบ้านได้บ้าง เช่น เดินเล่นหน้าบ้าน หรือเดินในหมู่บ้าน เวลาอุ้มให้อุ้มลูกน้อยให้อุ้มหันหน้าออก เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้จากการมองดูวิวรอบ ๆ ตัวลูก ลูกจะชอบเล่นนานขึ้นเมื่อมีคนมาเล่นด้วย คุณแม่ควรชวดพูดคุย เด็กวัย 2 เดือน เป็นวัยกำลังจดจำเสียง ลูกจะได้จำเสียงคุณพ่อคุณแม่ สนใจฟังเสียงพูดคุย
ถ้าลูกยังไม่อยากนอนแต่คุณพ่อคุณแม่จับให้นอนลูกจะร้องเสียงดัง คุณพ่อคุณแม่ควรเล่นกับลูกจนกว่าลูกอยากนอนเองจะดีกว่า การเล่นกับลูกยังช่วยให้ลูกได้ฝึกพัฒนาการด้านสังคมของลูกน้อย
มาถึงตอนท้ายนี้ อยากให้คุณพ่อคุณแม่เลี้ยงลูกน้อยอย่างมีความสุข ความแตกต่างเฉพาะตัวของลูกนั้นขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม โดยพันธุกรรมจะกำหนดคุณลักษณะทางกายภาพและขีดความสามารถที่ติดตัวลูกมาตั้งแต่กำเนิด ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอกช่วยเสริมศักยภาพดังกล่าวได้ เด็ก ๆ แต่ละคนมีอัตราพัฒนาการที่แตกต่างกันจึงไม่ควรนำเด็กๆมาเปรียบเทียบกันว่าใครเก่งกว่าใคร แต่การเสริมพัฒนาการของลูกนั้นคุณพ่อคุณแม่ควรที่จะต้องคำนึงถึงความสามารถตามธรรมชาติของลูก และความสุขของลูกเป็นหลักจึงจะเกิดประโยชน์แก่ลูกอย่างสูงสุด