เดือนที่ 5 แล้วนะคะ…..ช่างรวดเร็วจริง ๆ ….ลูกน้อยพัฒนาการเข้าเดือนที่เริ่มต้นความโกลาหลของคุณแม่คุณแม่กันแล้วล่ะคะ…. เพราะเป็นเดือนที่ลูกน้อยทำความลูกจักกับโลกของตน… เดือนนี้คุณพ่อคุณแม่เตรียมใจนะคะ…..ความสงบของคุณแม่คุณแม่จะถูกแทนที่ด้วยความใคร่รู้ต่อโลกภายนอกของลูกน้อยค่ะ….เจ้าตัวน้อยมีความสนใจที่จะรู้จักตัวเอง ควบคู่ไปกับการทดลองความสัมพันธ์และปฏิกริยาของสิ่งต่าง ๆ รอบตัวแกคุณพ่อคุณแม่จะเห็น
เสมอ ๆ ว่า เจ้าตัวน้อยจะชอบการดูดนิ้ว ชิมของเล่น แถมหยิบของสลับเปลี่ยนมือได้แล้ว พ่อแม่จัดหาของเล่น
ที่ปลอดภัยและมีผิวสัมผัสต่าง ๆ กัน เช่น ไม้ พลาสติก ผ้า ยาง เป็นต้น ให้ลูกเล่นด้วยนะคะ
ในเดือนนี้ลูกจะพลิกคว่ำพลิกหงายได้คล่องขึ้น ให้พ่อแม่จับให้ลูกนอนบนพื้นเรียบ ๆ เพื่อหัดพลิกตัวไปมาอย่างอิสระ และอย่าลืมหาของเล่นที่มีเสียงมาเล่นกับลูก กระตุ้นให้ลูกหันหาหรือพลิกตัวมาหาของเล่น เพื่อให้ลูกได้พยายามพลิกคว่ำพลิกหงาย…..ในวัย 5 เดือนนี้ส่วนมากเด็กน้อยจะถนัดพลิกไปด้านเดียว บ้างก็พลิกหงายบ้างก็
พลิกคว่ำ…..จะพลิกคว่ำด้านไหนนั้นไม่สำคัญค่ะ….แต่หาก 6 เดือนไปแล้วลูกน้อยยังไม่มีพัฒนาการด้านนี้เลย
คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษาคุณหมอนะคะ การเจริญเติบโตในด้านต่าง ๆ เหล่านี้เองที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องอย่าลืมเพิ่มความเอาใจใส่ต่อลูกในด้านความปลอดภัยเป็นพิเศษนะคะ ลูกน้อยอาจหยิบ หรือคว้าสิ่งของหรือเอื้อมตัวพยายามหยิบของจนอาจหลุดจากมือได้หากคุณพ่อคุณแม่ไม่ทันระวัง
ในเดือนที่ 5 นี้พัฒนาการของลูกพัฒนาขึ้นมากในหลาย ๆ ด้านเลยทีเดียว ….ลองไปดูกันนะคะ…
พัฒนาการด้านร่างกาย
ตอนนี้หนูอ้วนไปหรือผอมไปหรือเปล่า? คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักจะกังวล…ในเดือนที่ 5 นี้น้ำหนักตามเกณฑ์ของเด็กผู้ชายจะอยู่ระหว่าง 5.5 – 8 กิโลกรัม ส่วนเด็กหญิงจะอยู่ระหว่าง 5-7.8 กิโลกรัมค่ะ สำหรับส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐานเด็กชายอยู่ระหว่าง 59-68 เซนติเมตร เด็กหญิงจะอยู่ระหว่าง 58-68 เซนติเมตรค่ะ ควรดูว่าลูกอยู่ในเกณฑ์ไหน.. มากกว่าเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์ แล้วดูแลเรื่องอาหารให้เหมาะสมเพื่อให้ลูกน้อยอยู่มีน้ำหนักและส่วนสูงที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ธาตุเหล็กเป็นสารอาหารจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็กวัยนี้ ให้คุณพ่อคุณแม่สังเกตว่าลูกซีดหรือไม่ การซีดอาจเป็นเพราะลูกขาดธาตุเหล็กได้ค่ะ ซึ่งควรรีบแก้ไขพาลูกน้อยไปให้หมอวินิจฉัยดูนะคะ
ในวัยนี้ลูกจะมีความสามารถของกล้ามเนื้อมือในการหยิบของประสานกับการทำงานที่สมบูรณ์ของสายตา ซึ่งช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้ดีมากขึ้น ชอบที่จะอยู่ในท่านั่ง มากกว่าท่านอน ลูกจะเริ่มใช้มือร่วมกับสายตาที่มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น จะเริ่มจับสิ่งของ และชอบที่จะเอาของต่าง ๆ ใส่เข้าไปในปาก ลูกน้อยต้องการรรู้จักสิ่งต่าง ๆ ให้ลึกซี้งยิ่งขึ้น คุณพ่อคุณแม่ระวังสิ่งของชิ้นเล็ก ๆ ที่อาจหลุดเข้าปากและติดคอลูกได้ อย่าวางไว้ใกล้ๆ ลูกนะคะ วัยนี้ยังนั่งได้ไม่ดีนัก
นั่งพิงเองได้ ประมาณ 20-30 วินาที แต่นั่งได้มั่นคงกว่าเดือนก่อนค่ะ ในบางคนอาจนั่งได้เองเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ได้โดยไม่ต้องมีอะไรหนุนหลัง ระหว่างนี้ให้คุณพ่อคุณแม่อยู่ใกล้ชิดลูกนะคะ เพื่อจะช่วยพยุงได้ทันทีก่อนลูกจะล้ม ทางที่ดีลองหาหมอนมาวางข้างตัวลูกนะคะ จะได้ไม่เกิดอันตรายกับเจ้าตัวน้อยงัยค่ะ นอกจากนั้นยังชอบให้จับยืนด้วยค่ะ คุณพ่อคุณแม่จับลูกน้อยยืนได้จนกว่าลูกจะย่อตัวลงเอง
พัฒนาการด้านสติปัญญาและอารมณ์
เดือนที่ 5 นี้ ลูกจะชอบที่จะพบปะผู้คน จะส่งเสียงต่าง ๆ ได้อย่างน่ารัก และยังชอบทำท่าทางเลียนแบบคนที่กำลังเล่นกับเขา ลูกจะทำเสียงสูง เสียงต่ำ และเริ่มออกเสียงสระ บางครั้งก็เหมือนเสียงพยัญชนะ ม กับ บ ที่พอจับความหมายได้ ท่าทีที่คุณพ่อคุณแม่การตอบสนองต่อการส่งเสียงของลูก จะเป็นสิ่งกระตุ้นให้ลูกสนุก กับการส่งเสียงต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งช่วงนี้ก็เป็นโอกาสในการตรวจเช็คการได้ยินของลูกไปด้วย เพราะการได้ยินเสียงและการตอบรับจะมีความสำคัญต่อความสามารถในการพัฒนาการด้านภาษาของลูกน้อย …แอบสังเกตเด็กน้อยดูนะคะ
การที่เด็กได้รับการกระตุ้นผ่านประสาทสัมผัสต่าง ๆ จะช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองได้ โดยเฉพาะกระตุ้นผ่านเสียงของคุณแม่ สมองของลูกจะมีปฏิกิริยาต่อเสียงต่างๆ ปฏิกิริยาโต้ตอบจะยิ่งแรงขึ้นค่ะหากเป็นเสียงที่แสดงอารมณ์ออกมาด้วย เช่น เสียงหัวเราะ หรือร้องไห้ ในช่องเดือนนี้พ่อแม่ควรหาเพลงกล่อมเด็กที่มีทำนองช้า ๆ ไม่เร็ว หรือมีจังหวะถี่กระแทก มาเปิดให้ลูกฟังค่ะ หรือจะเป็นของเล่นมีเสียง ฝึกให้ลูกหันซ้าย-ขวาไปตามต้นเสียง เป็นการกระตุ้นการทำงานของสมองได้ดี
พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตัวเองและสังคม
ในวัยนี้อย่างที่บอกค่ะ ลูกน้อยสนุกที่จะได้ยินเสียงคุณพ่อคุณแม่พูดคุยด้วย และตื้นเต้นทุกครั้งที่ได้เห็นริมฝีปากพ่อแม่ขยับพูดคุยด้วย เด็กน้อยจะรู้สึกพึงพอใจ ที่พ่อแม่สื่อสารตอบกลับมา และจะยิ่งทำเสียงในลำคอมากขึ้น เป็นการทำให้ลูกน้อยเรียนรู้การพูดได้เร็วยิ่งขึ้น ถ้าคุณแม่ได้เลียนเสียงลูกน้อยบ่อย ๆ พร้อมกับแสดงความพึงพอใจในเสียงที่ลูกเปล่งออกมา ก็จะยิ่งทำให้ลูกน้อยเรียนรู้การพูดได้เร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้การที่คุณแม่ช่วยตอบสนองความต้องการทางด้านอารมณ์ของลูกแบบนี้ จะช่วยทำให้ลูกเป็นเด็กอารมณ์ดี มีความสุข ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่งของการปรับตัวทาง
ด้านอารมณ์ของลูกน้อยในอนาคต พ่อแม่จึงไม่ควรมองข้ามการชวนคุยของเจ้าตัวน้อยนะคะ ซึ่งเป็นโอกาสสำคัญในการพัฒนาด้านภาษาและการสื่อสารของของลูกให้เป็นไปอย่างสมวัย พัฒนาการด้านภาษาลูกจะไม่ล่าช้า พูดคุยกับลูก
บ่อย ๆ ชวนคุยด้วยภาษาที่ง่าย ๆ ชัดเจน มองหน้า สบตาลูกขณะพูดกับเขา ไม่ปล่อยให้ลูกนอนเล่นคนเดียว มองนั่น มองนี่อย่างเหงาๆ ตามลำพังนะคะ
ลูกน้อยเริ่มที่จะทำอะไรได้หลายอย่างขึ้น คุณพ่อคุณแม่เตรียมตัวสอนให้เจ้าตัวน้อยรู้จักถึงกฏกติกาบางอย่างได้แล้วนะค่ะ เพราะลูกพอจะรู้ จากการสังเกตสีหน้าท่าทาง และน้ำเสียงของพ่อแม่ว่าพ่อแม่ “ชอบ” หรือ
“ไม่ชอบ” ในสิ่งที่เขากำลังทำอยู่ และควรต้องแสดงความสม่ำเสมอในการฝึกฝนอีกสักพักใหญ่ ๆ ค่ะ แต่สิ่งเหล่านี้จะพื้นฐานสำคัญของการอบรมเลี้ยงดูลูกต่อไป