เด็กในช่วงอายุแรกเกิด – 2 ปี เป็นวัยที่มีความสำคัญ ถือว่าเป็นรากฐานแห่งคุณภาพชีวิต และพร้อมที่จะเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพต่อไป ถ้าได้รับการเลี้ยงดูที่ดีได้รับอาหารที่มีปริมาณ คุณค่าทางอาหารที่เพียงพอเหมาะสมตามวัย ซึ่งในระยะนี้การเจริญเติบโตของร่างกายและสมองจะรวดเร็วกว่าวัยอื่นๆ ดังนั้นแม่หรือผู้ปกครองจะต้องเตรียมอาหารไว้ให้ถูกต้อง เหมาะสมเพียงพอกับความต้องการของเด็ก
สมองเป็นอวัยวะของร่างกายที่ทำงานอย่างหนัก เพราะสมองทำงานตลอดเวลาแม้ยามที่เราหลับ ดังนั้นสมองจึงต้องการพลังงานอย่างมาก สมองทำงานโดยใช้พลังงานจากกลูโคสในเส้นเลือดและออกซิเจน โดยต้องการถึง 25 % ของความต้องการทั้งหมดของร่างกาย ทั้งที่สมองมีสัดส่วนเพียง 2% ของขนาดร่างกายเท่านั้น นอกจากนี้การศึกษาผลกระทบของการขาดสารอาหารต่อสมองเด็ก มีผลต่อกระบวนการคิดและการแก้ปัญหา ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าสารอาหารทั้ง 5 หมู่จึงมีประโยชน์และมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสมองทั้งสิ้น
อาหารเด็กแรกเกิด – 6 เดือน
นมแม่เป็นอาหารหลัก แรกเกิด – 6 เดือน เด็กที่ได้รับนมแม่จะเจริญเติบโตทั้งร่างกาย จิตใจ สมอง จะทำให้ลูก แข็งแรง ฉลาด อารมณ์ดีจากการได้รับสารอาหารครบถ้วน และการได้รับความรักความอบอุ่น การโอบกอด การบีบน้ำนมมี3 วิธี
- การบีบน้ำนมด้วยมือ(Hand expresssion) เป็นวีธีเหมาะสมที่สุด เพราะสะดวก ประหยัดและช่วยกระตุ้นการการสร้างน้ำนมด้วย แม้ไม่ดีเท่าการดูดนมของลูก
- การใช้เครื่องปั้มไฟฟ้า (Electric pump) มีราคาแพง ค่อนข้างยุ่งยาก ควรใช้ในรายที่มีปัญหา เช่น เต้านมคัดมากจนจับหรือแตะไม่ได้
- การใช้ที่ปั้ม (Breast pump) ไม่สะดวกต้องล้างทำควาสะอาด นึ่งหรือต้มในน้ำเดือด อย่างน้อย 10 นาทีไม่แนะนำให้ใช้เพราะไม่กระตุ้นการสร้างน้ำนม
อาหารเด็ก 6 เดือน – 1 ปี
เนื่องจากลักษณะของอาหารที่เปลี่ยนจากอาหารเหลวเป็นอาหารอ่อนนุ่ม ระยะเปลี่ยนผ่านสำคัญมาก หากไม่เหมาะสมทารกจะปรับตัวไม่ได้ดีมีผลให้ได้รับโปรตีนและพลังงานไม่พอเพียง เมื่อทารกอายุ 1 ปีอาหารที่ให้ควบคู่กับนมแม่จะกลายเป็นอาหารหลักและนมแม่เป็นอาหารเสริมที่ควรให้ต่อเนื่องจนอายุ 2 ปี ครั้งแรกของการให้อาหาร ควรให้อาหารอ่อนนุ่มทีละน้อย และสังเกตความพร้อมและการ ยอมรับ ถ้าทารกไม่ยอมรับก็ไม่บังคับ แต่ชะลอเวลาสักระยะและเริ่มใหม่ จนเด็กยอมรับ เริ่มอาหาร แต่ละชนิดทีละอย่างเพื่อให้เด็กเรียนรู้ชนิดของอาหารใหม่ๆ หลักการให้อาหารเสริมมีดังนี้
- เริ่มอาหารทีละน้อย และค่อยเพิ่มทีละน้อยจนได้ปริมาณที่ต้องการ
- ให้อาหารทีละอย่าง เว้นระยะในการให้อาหารแต่ละชนิดให้ห่างกันพอควร
- ระมัดระวังความสะอาดทั้งอาหารสด อาหารสุก ภาชนะ
- ไม่บังคับให้ทารกกิน แต่ให้ทารก
อาหารเด็ก 1 ปี – 2 ปี
- ให้อาหารที่มีปริมาณและคุณค่าพอเพียงกับความต้องการของเด็ก
- ฝึกให้เด็กกินอาหารแปลกใหม่จากที่เด็กเคยกินมาก่อนเช่น ผัก มะเขือเทศ ไม่ควรบังคับเด็ก ถ้าเด็กไม่ยอมกิน เพราะทำให้เด็กไม่ชอบอาหารชนิดนั้น แต่ใช้วิธีดัดแปลงวิธีการปรุงและรสชาติให้เด็กจนเด็กยอมรับ
- ลักษณะอาหารน่ากิน มีสีสัน น่ารับประทาน
- อาหารต้องรสชาติไม่จัด ไม่เค็ม หวาน เปรี้ยว มีขนาดเล็ก อ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย
- แบ่งมื้ออาหารเป็นหลายมื้อ ให้เด็กได้รับพอเพียงต่อความต้องการ
- สร้างบรรยากาศการกินอาหารที่ดีไม่เครียด ไม่ดุบ่นว่า ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง ระหว่างรับประทานอาหาร
- ไม่นำอาหารที่ปรุงดิบๆ สุกๆ หรืออาหารเหลือค้างมาให้เด็กรับประทาน ปริมาณอาหารสำหรับเด็ก 1-2 ปีใน 1 วัน ที่ควรได้รับ