การเลือกหนังสือนิทานให้แก่เด็ก จำเป็นต้องเข้าใจพัฒนาการตามวัยของเด็กเพื่อให้การ ส่งเสริมการเรียนรู้ตามวัยได้อย่างเหมาะสม โดยในการเลือกนั้นจะแบ่งออกตามช่วงอายุของเด็ก ซึ่งแต่ละช่วงอายุก็จะมีวิธีการเลือกที่แตกต่างกัน
ทารกแรกเกิด – 1 ปี
เด็กจะเรียนรู้ตั้งแต่ออกจากท้องแม่ จะมีความสนใจสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวชอบมองของที่มีสีสัน สวยงาม ชอบมอง มีความไวต่อการสัมผัสทางกายมีการรับรู้ทางโสตประสาท สามารถรับฟังเสียงได้ ตั้งแต่ออกจากท้องแม่ทันทีและชอบฟังเสียงที่ทอดยาวไปนานๆ ราว 10 วินาทีจะไม่ชอบเสียงที่สะดุด เสียงที่พูดเพียง 1-2 วินาทีแล้วหายไป ช่วงอายุ 8-10 เดือน เด็กจะมองหนังสือภาพเหมือนเป็นของเล่น ซึ่งมีภาพติดอยู่และเปิดได้เด็กจะรู้สึกสนุกกับการค้นหา เมื่อเปิดหนังสือแล้วพบสิ่งของที่รู้จัก เช่น แมว หมา ซึ่งประสบการณ์นี้จะเป็นจุดชักจูง ให้เด็กมีความสนใจหนังสือ ทำให้หนังสือเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ประจำวัน
หนังสือนิทานที่เหมาะสมกับวัย ภาพเหมือนจริง สีสันสวยงาม ชัดเจนเป็นภาพเดี่ยว เช่น รูปสัตว์ผัก ผลไม้สิ่งของต่างๆ ที่ใช้ ในชีวิตประจำวัน 64 คู่มือการจัดกิจกรรมสำหรับพ่อแม่เด็กอายุ 0 – 5 ปี
หนังสือนิทานที่ไม่เหมาะสมกับวัย ภาพไม่เหมือนจริง (ภาพนามธรรม) ภาพสีลูกกวาดที่ไม่มีความหมาย ภาพที่มีส่วนประกอบ ฉากหลังรกรุงรัง
เด็กวัย 2-3 ปี
เป็นวัยที่อยากเรียนรู้สิ่งต่างๆ โดยเด็กจะตั้งคำถามบ่อยๆ สนใจค้นหาหรือสำรวจสิ่งต่างๆ เริ่ม มีสมาธิมีพัฒนาการทางภาษาที่รวดเร้ซ ชอบดูหนังสือภาพ เลียนเสียงสิ่งแวดล้อม ฟังบทกลอน ชอบให้ เล่าซ้ำๆ โดยไม่รู้จักเบื่อ เริ่มสนใจเล่นรวมกับเด็กอื่นๆ เริ่มเล่นแบบจิตนาการและสมมติเมื่อได้รับฟัง นิทานทุกวัน เด็กจะจำได้ทุกถ้อยคำ หรือทุกตัวอักษร ประสบการณ์ทางภาษาที่ดีเป็นพื้นฐานสำคัญใน การสร้างนิสัยรักการอ่านของเด็กในอนาคต
หนังสือนิทานที่เหมาะสมกับวัย หนังสือภาพเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน หนังสือภาพสัตว์และสิ่งของ หนังสือกาพย์ กลอน สำหรับ เด็กที่มีภาพประกอบ หนังสือภาพที่มีบทกวี
หนังสือนิทานที่ไม่เหมาะสมกับวัย หนังสือที่มีแต่ภาพ รายละเอียดน้อย หรือไม่มีตัวอักษร
เด็กวัย 3-4 ปี
เด็กมีพัฒนาการทางภาษาที่รวดเร็วอย่างน่าทึ่ง มีจินตนาการสร้างสรรค์และมีความอยากรู้ อยากเห็นมาก สามารถติดตามและเข้าใจเรื่องเล่าง่ายๆ ได้แล้ว เด็กวัยนี้ชอบเรื่องซ้ำไปซ้ำมา และ เรื่องไหนที่ชอบมาก เด็กจะให้อ่านซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่รู้จักเบื่อ ทั้งๆ ที่จำเรื่องได้หมดทุกตัวอักษรตั้งแต่ต้น จนจบ
หนังสือนิทานที่เหมาะสมกับวัย นิทานก่อนนอนที่มีเนื้อเรื่องเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีก
เด็กวัย 4-5 ปี
เด็กวัยนี้สามารถแต่งประโยคได้โดยใช้คำ 5-6 คำ ชอบตั้งคำถาม ทำไม เมื่อไร อย่างไร มี จินตนาการ เป็นวัยช่างฟัง ช่างสังเกต ชอบเล่นบทบาทสมมติรู้จักเล่าเรื่องราวต่างๆ ที่คิดขึ้นด้วยตัวเอง ชอบสัมผัสสิ่งใหม่ๆ ชอบอยู่เป็นกลุ่ม สามารถเข้าใจความหมายที่เชื่อมโยง สอดคล้องกัน
หนังสือนิทานที่เหมาะสมกับวัย หนังสือที่ภาพและเรื่องราวประสานกลมกลืนกัน เนื้อเรื่องสนุก ตลกขบขัน ใช้ภาษาแปลกๆ แต่ รายละเอียดของภาพมากขึ้น เพื่อให้เด็กได้ใช้จินตนาการได้เต็มที่ รูปภาพมีความจำเป็นน้อยลงไม่เน้น สีสัน
หนังสือนิทานที่ไม่เหมาะสมกับวัย หนังสือที่ใช้ความรุนแรง อภินิหาร ลึกลับ